วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  ตฤณ แจ่มถิน
วัน จันทร์บ่าย    
เวลาเข้าสอน  08.00 น.   เวลาเรียน 08.30  น.

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  ตฤณ แจ่มถิน
วัน จันทร์บ่าย    
เวลาเข้าสอน  08.00 น.   เวลาเรียน 08.30  น.

    วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปเตรียมงานครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทยในรายวิชานาฎศิลป์และเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย



ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย 


ระบำดอกบัว
โดยอาจารย์นุตราให้ เราถ่ายทอดในสิ่งที่เรียนมาให้กับเด็กๆ คือการรำระบำดอกบัว
จากเด็กๆโรงเรียนสาธิต จันทรเกษม ^^

ลำดับที่ 2 ระบำเงือก


ลำดับที่ 3 ระบำเกาหลี


ลำดับที่ 4 รำตังหวาย 


ลำดับที่ 5 ระบำขวัญข้าว


ลำดับที่ 6 นิทานสร้างสรรค์/ผ้าเช็ดหน้าวิเศษ
(มีส่วนช่วยในการแต่งหน้าแม่มดด้วยนะค่ะ ^^)


ลำดับที่ 7 รำประยุกต์ 


ลำดับที่ 8  จินตลีลา/พ่อของแผ่นดิน


ลำดับที่ 9 ระบำสี่ภาค 




ประเมินตนเอง

  กิจกรรมนี้เป็นการร่วมมือกันของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เอกการศึกษาปฐมวัย เราทุกคนตั้งใจทำมาโดยตัวเราทุ่มเทกับการซ้อมรำและการแสดงครั้งนี้เพื่อจะหวังให้ออกมาดีที่สุด

ประเมินเพื่อน

   ทุกคนช่วยกัน ร่วมมือร่วมใจกันปี 3 ทำเต็มที่รักเพื่อนทุกคนน้า

ประเมินอาจารย์
  
-----------------------------------------------


การบันทึกอนุทินครั้งที่ 13


       บันทึกการเรียน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  ตฤณ แจ่มถิน
วัน จันทร์บ่าย    
เวลาเข้าสอน  08.00 น.   เวลาเรียน 08.30  น.

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกการเรียน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  ตฤณ แจ่มถิน
วัน จันทร์บ่าย    
เวลาเข้าสอน  08.00 น.   เวลาเรียน 08.30  น.



       สัปดาห์นี้อาจารย์บอกคะแนนสอบและเฉลยข้อสอบทีละข้อพร้อมอธิบายว่าข้อไหนตอบอะไรบ้าง ดิฉันยังไม่เข้าใจและไม่ได้อ่านเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นมากเท่าไรจึงหาเพิ่มเติม


ความบกพร่องทางการมองเห็น (Visual Impairment) 

ความบกพร่องทางการมองเห็น (Visual Impairment) คือการสูญเสียการมองเห็น (Vision Loss) จนถึงระดับหนึ่ง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสามารถในการมองเห็นที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งอาจเกิดจากโรค (Disease) การบาดเจ็บ (Trauma) รวมถึงความผิดปกติที่มีมาตั้งแต่กำเนิด (Congenital conditions) หรือเสื่อมสภาพในภายหลัง (Degenerative conditions)ในปัจจุบันเด็กจำนวน 1 ใน 5 ประสบปัญหาเกี่ยวกับความบกพร่องในการมองเห็น อย่างไรก็ตามเด็กมักไม่รู้ว่าตนเองมีความบกพร่องทางการมองเห็น เนื่องจากเด็กที่มีปัญหาส่วนใหญ่เติบโตขึ้นมากับอาการดังกล่าวโดยไม่รู้ว่า การมองเห็นที่ปกตินั้นเป็นอย่างไร อีกทั้งยังมักเข้าใจว่าคนอื่นก็เห็นโลกในลักษณะที่ไม่ต่างไปจากที่เขาเห็น เช่นกันปัญหาในการมองเห็นของเด็กอาจติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด แต่ส่วนใหญ่มักเริ่มเมื่อเด็กอายุ 18 เดือนถึง 4 ขวบ อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กโตขึ้นจนถึงวัยเรียนและสายตาพัฒนาอย่างเต็มที่เมื่ออายุ 10 ปีหรือแม้กระทั่งโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่แล้ว ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุและสิ่งแวดล้อมรอบตัวก็อาจเป็นสาเหตุของปัญหาความบกพร่องทางการ มองเห็นได้ความบกพร่องทางการมองเห็นย่อมส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งในทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากการเรียนรู้พัฒนาการทางด้านต่างๆและทักษะการใช้ชีวิตของเด็กล้วน เชื่อมโยงกับการมองเห็น ดังนั้นเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นจึงอาจมีพัฒนาการที่ไม่ปกติหรือ ไม่สมบูรณ์พร้อม อีกทั้งมักจะมีนิสัยขี้หงุดหงิดและพฤติกรรมเกรี้ยวกราดอันเกิดจากความไม่ได้ ดั่งใจในข้อจำกัดของตนเอง


ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น 
  1. กลุ่มที่มองเห็นได้บางส่วน (Partially Sighted) หมายถึง เด็กที่มีปัญหาทางการมองเห็นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เป็นคำที่นิยมใช้ในบริบททางการศึกษาเพื่อสื่อถึงภาวะการมองเห็นที่ไม่ สมบูรณ์มากกว่าความพิการ เด็กบางส่วนในกลุ่มนี้อาจต้องได้รับการศึกษาพิเศษ
  2. กลุ่มสายตาเลือนราง (Low Vision) หมายถึง กลุ่มที่มีปัญหาทางการมองเห็นที่รุนแรง คือไม่สามารถอ่านหนังสือพิมพ์ในระยะปกติได้แม้จะใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ ในการเรียนรู้ เด็กกลุ่มนี้ต้องใช้การมองเห็นร่วมกับประสาทสัมผัสอื่นๆรวมถึงใช้การช่วย เหลืออื่นๆ เช่น การปรับแสง ขนาดตัวอักษร หรือแม้กระทั่งการใช้อักษรเบรลล์ ความผิดปกติส่วนใหญ่ของกลุ่มสายตาเลือนราง แบ่งเป็น ภาวะสายตาสั้น (Myopic) และภาวะสายตายาว (Hyperopic)
  3. กลุ่มพิการทางสายตาตามกฎหมาย (Legally Blind) หมายถึงผู้ที่มีระดับการมองเห็นต่ำกว่า 20/200 หลังจากที่ใช้อุปกรณ์ช่วยในการมองเห็นแล้ว รวมทั้งมีลานสายตา (Visual Field) สูงสุดไม่เกิน 20 องศา
  4.  กลุ่มตาบอดสนิท (Totally Blind) เป็นความบกพร่องทางการมองเห็นระดับรุนแรงที่สุด เด็กต้องเรียนรู้ผ่านอักษรเบรลล์ (Braille) หรือสื่อที่รับได้โดยไม่ต้องมองเห็น (Non-visual media)
สาเหตุที่เกิด
  1. กรรมพันธุ์ (Heredity) โดยความผิดปกติจะสามารถถ่ายทอดมาถึงเด็กได้หากครอบครัวมีประวัติสุขภาพของ ครอบครัว (Family History) ที่เกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคต้อ (Familial Cataract) โรคกล้ามเนื้อจอตาเจริญผิดเพี้ยน (Retinal dystrophies) และมะเร็งจอตา (Retinoblastoma)
  2. ระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน (Rubella) และโรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)
  3. ระหว่างคลอด เช่น โรคจอตาผิดปกติอันเกิดจากการคลอดก่อนกำหนด (Retinopathy of prematurity) และอาการเยื่อบุตาอักเสบในเด็กแรกเกิด (Newborn Conjunctivitis)
  4. ในวัยเด็ก เช่น การขาดแคลนวิตามินเอ (Vitamin A Deficiency) โรคหัด (Measles) ตาอักเสบ (Eye Infection) ยารักษาตาแผนโบราณ (Traditional eye medicines) และอุบัติเหตุ (Injuries)
ประเมินตนเอง

  อาจารย์บอกคะแนนสอบและเฉลยข้อสอบคะแนนได้ไม่ดีเพราะตั้งใจอ่านหนังสือ อยากจะร้องไห้แต่ไม่เสียใจเพราะเราทำตัวเองคราวหน้าจะตั้งใจอ่านหนังสือให้มากๆ ^^ 
ประเมินเพื่อน

 เพื่อนๆแต่งกายถูกต้องเรียบร้อย เพื่อนๆได้คะแนนสอบกันเยอะมาก แต่ละคนคะแนนสอบดีๆทั้งนั้นแทบไม่มีคนตกเลยสักคน

ประเมินอาจารย์

 อาจารย์บอกคะแนนสอบและเฉลยข้อสอบและอธิบายข้อสอบแต่ละข้อเพื่อให้เราเข้าใจมากขึ้น 

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 11


บันทึกการเรียน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  ตฤณ แจ่มถิน
วัน จันทร์บ่าย    
เวลาเข้าสอน  08.00 น.   เวลาเรียน 08.30  น.





ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาคค่ะ 


การบันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกการเรียน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  ตฤณ แจ่มถิน
วัน จันทร์บ่าย    
เวลาเข้าสอน  08.00 น.   เวลาเรียน 08.30  น.



ประเมินตนเอง
  แต่งกายถูกต้องเรียบร้อย จดเพิ่มเติมจากที่อาจารย์บอก ตั้งใจดูคลิปวีดีโอจากที่อาจารย์เปิดให้ดู เข้าใจเนื้อหามากขึ้นเพราะอาจารย์จะนำประสบการณ์ตรงที่อาจารย์เจอมาเล่าให้ฟัง
 
ประเมินเพื่อน
 
 เพื่อนๆแต่งกายถูกต้องเรียบร้อย ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและดูคลิปวีดีโอที่อาจารย์นำมาให้ดู เพื่อนบางคนจะถามอาจารย์เมื่อไม่เข้าใจในเนื้อหา
 
ประเมินอาจารย์
 
 อาจารย์เตรียมการเรียนการสอนมาทุกครั้ง เข้าสอนตรงเวลา มีหน้าตายิ้มแย้ม ใจดี สอนไม่หน้าเบื่อ มีบทบาทสมมุติมาทำให้นักศึกษาดูทุกครั้ง นำคลิปวีดีโอเรื่องเด็กสมาธิสั้นมาให้ดูจาก นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา ทำให้เข้าใจมากขึ้นรู้วิธีบำบัดเด็กสมาธิสั้น

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกการเรียน
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  ตฤณ แจ่มถิน
วัน จันทร์บ่าย    
เวลาเข้าสอน  08.00 น.   เวลาเรียน 08.30  น.


การเรียนการสอนวันนี้




ประเมินตนเอง
  
 เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกต้องเรียบร้อย ช่วงแรกตั้งใจฟังอาจารย์ จดเพิ่มเติมที่ไม่มีในเนื้อหา ช่วงหลังเริ่มคุยกับเพื่อนบ้าง

ประเมินเพื่อน

  เพื่อนๆแต่งกายถูกต้องเรียบร้อย ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนอาจจะมีคุยกันบ้างเล็กน้อย ช่วงอาจารย์ยกตัวอย่างให้ฟัง

ประเมินอาจารย์

 อาจารย์เตรียมการเรียนการสอนมาทุกครั้งเรียนไปพร้อมกับชีส ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ชอบมากค่ะ